หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ธรรมะแก้อารมณ์เบื่อหน่าย...บทที่ 6


อารมณ์เบื่อในร่างกายเป็นตัววิปัสสนาญาณ


การใช้วิปัสสนาญาณ ถ้ายังไม่ถึง นิพพิทาญาณ เพียงใด 
ก็ชื่อว่าอารมณ์ของบรรดาท่านพุทธบริษัทยังไม่มีผล
ในวิปัสสนาญาณ นิพพิทาญาณ นี่เป็นตัวแรกที่เข้าถึงผล 
แต่ ผลที่เข้าถึงตอนแรก บรรดาท่านพุทธบริษัท
อย่าคิดว่า มันจะทรงตัว เอากันแค่เบื่อเล็กน้อยเฉพาะเวลา 
ใหม่ ๆ เบื่อตลอดเวลาไม่ได้นะ 
มันจะไม่เบื่อตลอดเวลา บางครั้งเราจะมีความรู้สึก
เบื่อในร่างกายของเราเอง เอาร่างกายเราเป็นสำคัญ 
แล้วก็บางครั้งมันก็ไม่เบื่อ อารมณ์เบื่อมันจะน้อยกว่า
อารมณ์ไม่เบื่อ ก็ช่างมันถือว่ามีความเบื่อก็แล้วกัน
ธรรมโอวาท หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง (นำมาจาก facebook)
***********************************
อารมณ์เบื่อเป็นของดี แต่ก็เป็นของไม่ดีสำหรับจิตใจ


(
ตัดมาบางส่วนจากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่มที่ 16)

อารมณ์เบื่อเป็นของดี แต่ก็เป็นของไม่ดีสำหรับจิตใจ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ถ้าหากไม่รู้จักเบื่อเสียเลย ก็จักเพลินอยู่กับโลกเสียทั้งหมด ไม่เห็นความไม่ดีของโลก ซึ่งโลกนี้มีแต่ความไม่เที่ยง อันนำมาซึ่งความทุกข์ จึงนับว่าเป็นการดีที่รู้จักเบื่อที่เห็นความไม่ดีของโลก แต่ที่ว่าอารมณ์เบื่อเป็นที่ไม่ดีก็เพราะจิตใจยังมีอารมณ์อึดอัด กลัดกลุ้มอยู่ในอารมณ์เบื่อนั้นๆ ดังนั้นจึงควรวางอารมณ์ เบื่อได้แต่ให้รีบวางไปในการยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมดา สรุปว่า เบื่อโลกแล้วเกาะความเบื่อจัดเป็นกิเลส (เบื่อไม่เป็น) แต่เบื่อโลกแล้ววางด้วยปัญญาโดยเห็นเป็นของธรรมดา จัดเป็นพระธรรม (เบื่อเป็น)....
********************************
อย่าให้ความเบื่อสิงใจอยู่นาน

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

         
. อย่าให้ความเบื่อสิงใจอยู่นาน เพราะอารมณ์นี้มันหดหู่ ทำลายความสุขของจิต พยายามดึงอารมณ์ให้เหนือขึ้นไป คือ ลงตัวสังขารุเปกขาญาณเข้าไว้

         
. เบื่อมันทำไม ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นกฎของธรรมดาสภาวะทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ไม่มีอะไรดี-ไม่มีอะไรเลว มันเป็นเรื่องของกฎธรรมดา เกิด เสื่อม ดับอยู่อย่างนั้นเป็นปกติ

          . ถ้าหากจิตเรารู้เท่าทันอริยสัจ ก็ไม่จำเป็นที่จักต้องไปเบื่อมัน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างลงตัวธรรมดาหมด ถ้าหากจักเบื่อ ก็ให้เบื่อกำลังใจของตนเอง

          . นี่เพราะจิตของเราไปยุ่งเอง เพราะฉะนั้นจักต้องหมั่นรักษากำลังใจของตนเองเข้าไว้ มีอะไรเกิดขึ้นให้แก้ไขที่ใจของตนเองเป็นสำคัญ หาเหตุ-หาผลให้พบในจิตของตนเองนั่นแหละ แก้ที่ตรงนั้น แล้วเจ้าจักพบชัยชนะของจิตเป็นลำดับไป

(ที่มา : จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่มที่ )

>>>>>> อ่านต่อตอนที่ 8 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น