อารมณ์เบื่อง่าย หน่ายเร็ว
ในวันต่อมา ลูกสาวในอดีตชาติของหลวงพ่อเกิดอารมณ์เบื่อง่าย หน่ายเร็วกำเริบ หลวงพ่อฤๅษีท่านก็เมตตามาสอนให้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. “เอ็งต้องหาสาเหตุที่ทำให้จิตมันเบื่อง่าย หน่ายเร็วให้พบ อารมณ์ฝืด ๆ อย่างนี้ ทิ้งไว้นานไม่ดี สภาพจิตมันชอบของใหม่ ๆ ก็ต้องคอยหาของใหม่ป้อนมันไปเรื่อย ๆ” (ลูกสาวท่านก็บอกว่าหาไม่พบ)
๒. หลวงพ่อท่านก็ว่า “เอ็งอย่าโง่สิ กรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐานสูตรมันไม่มีทางตัน ต้องฉลาดกว่าอารมณ์ของจิตสิ เอาของเก่านั่นแหละ ย้อนไปย้อนมา ทบทวนเข้าเป็นของใหม่ ประเดี๋ยวจิตมันก็จะเกิดความเพลิดเพลินไปเอง”
๓. “อย่าให้อารมณ์มันหลอก เราต้องหลอกอารมณ์ ขืนปล่อยให้มันเหนือเราอยู่เรื่อย ๆ ก็มีหวังเจ๊ง เอาใหม่ ตั้งต้นย้อนปลาย จากปลายย้อนหาต้น ทำให้มันเบา ๆ สนุก ๆ อย่ามีอารมณ์เครียด ถ้าคิดแล้วหนักก็เลิก หันมาจับอานาปาฯ ก่อน รู้ลมพอจิตสบาย ๆ ก็หันกลับมาคิดใหม่”
จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม
ทรงพระเมตตามาตรัสสอนต่อให้ว่า
๑. “เจ้ายังอ่อนการพิจารณาหาต้นเหตุของทุกข์ในอริยสัจ เพราะฉะนั้นจงหมั่นใช้ความเพียร เร่งหาสมุทัยในทุกข์อริยสัจให้พบ”
๒. “บ่อเกิดของอารมณ์ คือ ตัณหา จงพยายามหาต้นเหตุให้พบ แล้วจักละอารมณ์ตัณหาเหล่านั้นได้ที่ต้นเหตุนั้น”
๓. “จำไว้ เพราะพวกเจ้าศึกษาวิชาครู จึงต้องผ่านขั้นตอนโดยละเอียด ไม่มีโอกาสได้เรียนลัดเช่นบุคคลอื่น จงตั้งใจทำกันให้ดี ๆ เหนื่อยยากเท่าไหร่ ก็ขอให้อดทน ถือว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ที่พวกเจ้าจักต้องเร่งความเพียร สั่งสมบารมี เพื่อเข้าถึงพระนิพพานให้จงได้”
๔. “อย่าท้อถอย เพราะหนทางเหล่านี้ พวกเจ้าเลือกเอาไว้เองทั้งสิ้น มีพระสงเคราะห์มากมายถึงขนาดนี้แล้ว จักท้อถอยเพื่อประโยชน์อันใด จงหมั่นอดทนฟันฝ่าอุปสรรค ให้เต็มความตั้งใจ เพื่อทำจริง ตามหลักธรรมปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน”
๕. “พยายามรักษากำลังใจให้เต็มเข้าไว้ ควบกับการรู้ลมหายใจเข้า-ออก ควบกับมรณานุสติอยู่เสมอ ๆ จิตจักได้มีกำลังใจ”
๖. “ก่อนคิดพิจารณาอันใด ก็จงระลึกนึกถึงความตาย เตือนจิตตนเองไว้เสมอ ๆ ถ้าหากละจากความดี ขณะจิตข้างหน้านี้หรือขณะจิตนี้ ลมหายใจอาจจักพลาดจากร่างกายนี้ไป เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ และตรวจสอบจิตว่า คิดหรือทำอันใดอยู่ในขณะนี้เป็นการไม่ประมาท และอัตนาโจทยัตตานังไปด้วย”
๑. “เจ้ายังอ่อนการพิจารณาหาต้นเหตุของทุกข์ในอริยสัจ เพราะฉะนั้นจงหมั่นใช้ความเพียร เร่งหาสมุทัยในทุกข์อริยสัจให้พบ”
๒. “บ่อเกิดของอารมณ์ คือ ตัณหา จงพยายามหาต้นเหตุให้พบ แล้วจักละอารมณ์ตัณหาเหล่านั้นได้ที่ต้นเหตุนั้น”
๓. “จำไว้ เพราะพวกเจ้าศึกษาวิชาครู จึงต้องผ่านขั้นตอนโดยละเอียด ไม่มีโอกาสได้เรียนลัดเช่นบุคคลอื่น จงตั้งใจทำกันให้ดี ๆ เหนื่อยยากเท่าไหร่ ก็ขอให้อดทน ถือว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ที่พวกเจ้าจักต้องเร่งความเพียร สั่งสมบารมี เพื่อเข้าถึงพระนิพพานให้จงได้”
๔. “อย่าท้อถอย เพราะหนทางเหล่านี้ พวกเจ้าเลือกเอาไว้เองทั้งสิ้น มีพระสงเคราะห์มากมายถึงขนาดนี้แล้ว จักท้อถอยเพื่อประโยชน์อันใด จงหมั่นอดทนฟันฝ่าอุปสรรค ให้เต็มความตั้งใจ เพื่อทำจริง ตามหลักธรรมปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน”
๕. “พยายามรักษากำลังใจให้เต็มเข้าไว้ ควบกับการรู้ลมหายใจเข้า-ออก ควบกับมรณานุสติอยู่เสมอ ๆ จิตจักได้มีกำลังใจ”
๖. “ก่อนคิดพิจารณาอันใด ก็จงระลึกนึกถึงความตาย เตือนจิตตนเองไว้เสมอ ๆ ถ้าหากละจากความดี ขณะจิตข้างหน้านี้หรือขณะจิตนี้ ลมหายใจอาจจักพลาดจากร่างกายนี้ไป เตือนจิตตนเองไว้เยี่ยงนี้ และตรวจสอบจิตว่า คิดหรือทำอันใดอยู่ในขณะนี้เป็นการไม่ประมาท และอัตนาโจทยัตตานังไปด้วย”
ในวันต่อมาก็ทรงพระเมตตาตรัสสอนต่อให้
ดังนี้
๑. “เบื่อก็ให้รู้ว่าเบื่อ แต่อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย จนลืมจุดหมายปลายทางว่าที่สุดของความต้องการ คือ พระนิพพาน”
๒. “พิจารณาให้เห็นทุกข์และโทษของร่างกาย มีความเบื่อหน่าย แล้วก็จงยอมรับความทุกข์ และโทษของร่างกายนี้ว่าเป็นธรรมดา ตราบใดที่เจ้ายังทรงขันธ์ ๕ อยู่ พยายามลงตัวธรรมดาให้จงได้ วางจิตให้ยอมรับกฎธรรมดาของขันธ์ ๕ นั้น จิตเจ้าจักได้คลายความเกาะติดขันธ์ ๕ ลงได้ในที่สุด”
๓. “ค่อย ๆ วางอารมณ์ อย่าเคร่งเครียดจนเกินไป จิตจักมีความกลัดกลุ้ม เบียดเบียนตนเอง ก็เป็นความไม่ถูกต้อง หมั่นรู้ลมให้มากในระยะนี้ อารมณ์ของจิตจักไม่ซ่านจนเกินไป”
๔. “แล้วจงหมั่นวางอารมณ์กระทบจากภายนอกลงด้วย อย่าหุนหันพลันแล่นด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว ทำจิตให้ขุ่นข้อง ปฎิฆะเกิดขึ้นได้ง่าย จักพูดสิ่งใดขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”
๕. (ก็ยอมรับว่าเวลามีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้กล่าววาจาไม่ดี) ทรงตรัสว่า “มันเป็นผลเสียทั้งคำพูดและจิตใจของเจ้าเอง และผู้ถูกกระทบด้วย”
ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔)๑. “เบื่อก็ให้รู้ว่าเบื่อ แต่อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย จนลืมจุดหมายปลายทางว่าที่สุดของความต้องการ คือ พระนิพพาน”
๒. “พิจารณาให้เห็นทุกข์และโทษของร่างกาย มีความเบื่อหน่าย แล้วก็จงยอมรับความทุกข์ และโทษของร่างกายนี้ว่าเป็นธรรมดา ตราบใดที่เจ้ายังทรงขันธ์ ๕ อยู่ พยายามลงตัวธรรมดาให้จงได้ วางจิตให้ยอมรับกฎธรรมดาของขันธ์ ๕ นั้น จิตเจ้าจักได้คลายความเกาะติดขันธ์ ๕ ลงได้ในที่สุด”
๓. “ค่อย ๆ วางอารมณ์ อย่าเคร่งเครียดจนเกินไป จิตจักมีความกลัดกลุ้ม เบียดเบียนตนเอง ก็เป็นความไม่ถูกต้อง หมั่นรู้ลมให้มากในระยะนี้ อารมณ์ของจิตจักไม่ซ่านจนเกินไป”
๔. “แล้วจงหมั่นวางอารมณ์กระทบจากภายนอกลงด้วย อย่าหุนหันพลันแล่นด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว ทำจิตให้ขุ่นข้อง ปฎิฆะเกิดขึ้นได้ง่าย จักพูดสิ่งใดขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”
๕. (ก็ยอมรับว่าเวลามีอารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้กล่าววาจาไม่ดี) ทรงตรัสว่า “มันเป็นผลเสียทั้งคำพูดและจิตใจของเจ้าเอง และผู้ถูกกระทบด้วย”
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
>>>>> อ่านต่อตอนที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น